ประวัติสนามแอนฟิลด์

ประวัติสนามแอนฟิลด์

ประวัติสนามแอนฟิลด์

พื้นที่ : ลิเวอร์พูล,เมอร์ซี่ย์ไซด์

ก่อสร้าง : ปี ค.ศ. 1884

เปิดใช้งาน : ปี ค.ศ.1884

ความจุ : 45,522 ที่นั่ง

ที่นั่งพิเศษ : 32 ที่นั่ง

สถิติผู้เข้าชมสูงสุด : 61,905 (ลิเวอร์พูล-วูลฟส์ 2 กุมภาพันธ์ 1952)

ขนาดสนาม : ยาว 101 เมตร,กว้าง 68 เมตร

ประวัติสนามแอนฟิลด์

ประวัติสนามแอนฟิลด์ สนามแอนฟิลด์ เปิดใช้งานเมื่อปี 1884 โดยมีจอห์น ออร์เรลล์ เป็นเจ้าของ และผู้บุกเบิก ซึ่งสนามดังกล่าวอยู่ติดๆ กับสวนสาธารณะแสตนลี่ย์ พาร์ค และนัดประเดิมสนามนัดแรกคือ การพบกันระหว่าง เอิร์ลสทาวน์ กับ เอฟเวอร์ตัน เมื่อวันที่ 28 กันยายน ปี 1884 และก็เป็น “ทอฟฟี่สีน้ำเงิน”ถล่มไป 5-0

แอนฟิลด์เปิดสนามให้เช่ามาก่อน

ประวัติสนามแอนฟิลด์

สนามแอนฟิลด์ เคยให้สโมสรร่วมเมืองอย่าง เอฟเวอร์ตัน เช่าเพื่อใช้ในการฝึกซ้อม และทำการแข่งขันจบกระทั่งในปี 1892 เอฟเวอร์ตัน ก้ย้ายไปใช้สนามของตัวเองโดยตั้งชื่อว่า กูดิสัน พาร์ค เนื่องจากการขัดแย้งเกี่ยบกับเรื่องค่าเช่า จึงทำให้ จอห์น โฮลดิ้ง เจ้าของสนาม แอนฟิลด์ จึงตัดสินใจสร้างทีมใหม่ขึ้นมาเพื่อที่จะเล่นที่สนามแห่งนี้ ซึ่งก็คือ ลิเวอร์พูล นั่นเอง

ความจุของสนามแอนฟิลด์

ประวัติสนามแอนฟิลด์

ช่วงเวลานั้น แอนฟิลด์ สามารถรองรับแฟนบอลได้ประมาณ 60,000 คน และมีความจุ 55,000 ที่นั่ง จนกระทั่งปี 1990 เทเลอร์ รีพอร์ต รายงานเหตุการณ์การถล่มของอัฒจันทร์ที่สนาม ฮิลส์ โบโร่ ทำให้ พรีเมียร์ลีก มีคำสั่งให้ทุกสนามเปลี่ยนจากอัฒจันทร์ยืนเป็นแบบนั่งทั้งหมดในฤดูกาล 1993-1994 และมีความจุลดลงเหลือ 45,276 ที่นั่ง

แผนการพัฒนาสนามแอนฟิลด์

ประวัติสนามแอนฟิลด์

จากผลการวิจัยของเทอลร์ รีพอร์ต ได้ผลักดันให้มีการสร้างอัฒจันทร์ใหม่ทางด้าน เคมลีน โร้ด สแนด์ ในปี 1992 ซึ่งตรงกับการครบรอบ 100 ปี ของการก่อตั้งสโมสร จึงตั้งชื่อว่า เซนเทเนรีสแตนด์ เป็นชั้นพิเศษที่ถูกเพิ่มในฝั่งถนนแอนฟิลด์

เนื่องจากข้อจำกัดในการขยายความจุที่นั่งของ แอนฟิลด์ ลิเวอร์พูล ได้ประกาศแผนเสนอให้ย้ายไปสนาม แสตนลีย์ พาร์ค เมื่อเดือน พฤษภาคม ค.ศ. 2002 โดยแผนนี้ถูกอนุมัติในเดือน กรกฎาคม ค.ศ. 2004 และในเดือน กันยายน ค.ศ. 2006 สภาเมือง ลิเวอร์พูล ได้อนุมัติสัญญาเช่า 999 ปี จึงทำให้ ลิเวอร์พูล ได้รับอนุญาตให้สร้างสนามแห่งใหม่ใกล้ สแตนลี่ย์ ปาร์ค ภายหลังจากการซื้อสโมสรโดย จอร์จ จิลเลตต์ และ ทอม ฮิคส์

ในเดือน กรกฎาคม ค.ศ. 2007 สโมสรได้นำเสนอแผนใหม่ที่ออกแบบและเสนอโดยบริษัท เอชเคเอส เมืองดัลลัส สหรัฐอเมริกา โดยปรับความจุเป็น 76,000 ที่นั่ง มูลค่าการลงทุน 300 ล้านปอนด์ (ประมาณ 15,000 ล้านบาท) ต่อมาในเดือน สิงหาคม ค.ศ. 2008 เนื่องจากมูลค่าเหล็กกล้าในตลาดระหว่างประเทศนั้นสูงขึ้นมาก ทำให้มูลค่าการลงทุนต้องเพิ่มขึ้นเป็น 400 ล้านปอนด์ ฮิคส์ และ จิลเล็ตต์ จึงตัดสินใจยกเลิกการสร้างไปโดยปริยาย

ประวัติสนามแอนฟิลด์ โครงสร้างและสิ่งอำนวยความสะดวก

สนามแอนฟิลด์

แอนฟิลด์บรรจุผู้ชมได้ทั้งหมด 45,276 ที่นั่ง แบ่งออกเป็นสี่ด้านได้แก่ แอนฟิลด์ โร้ด,ฝั่ง เดอะ เซนเทนารี่ย์ สแตนด์,เดอะ ค็อป และ เมน สแตนด์ โดยอัฒจันทร์ด้าน แอนฟิลด์ โร้ด กับ เดอะ เซนเทนารี่ย์ สแตนด์ แบ่งออกเป็นฝั่งละ 2 ชั้น ขณะที่ เดอะ ค็อป และ เมน สแตนด์ แบ่งเป็นฝั่งละชั้น ซึ่งประตูทางออกของ แอนฟิลด์ มีมากถึง 80 ประตู

อัฒจันทร์ฝั่ง เดอะ ค็อป มีความจุสูงที่สุด (12,409) มากกว่าในบรรดาอีก 3 ด้านที่เหลือ ส่วน แอนฟิลด์ โร้ด ,เดอะ เซนเทนารี่ย์ สแตนด์ และ เมน สแตนด์ มีความจุอยู่ที่ 9,074 คน,11,762 คน และ 12,227 คน ตามลำดับ ขณะที่อัฒจันทร์ที่มีความเก่าแก่มากที่สุดคือด้าน เมนโร้ด โดยสร้างเสร็จสมบูรณ์ในปี 1982 ส่วนฝั่ง เซนเทนารี่ย์ สแตนด์ เมื่อก่อนมีโครงสร้างเพียงชั้นเดียว ก่อนจะมาขยายเป็นสองชั้นในปี 1992

แอนฟิลด์ โร้ด สแตนด์ ตั้งอยู่ฝั่งซ้ายของ เมน สแตนด์ เป็นอัฒจันทร์ที่เอาไว้รองรับแฟนบอลทีมเยือนซึ่ง แอนฟิลด์ โร้ด ถูกปรับขึ้นมาใหม่ในปี 1965 ก่อนที่เก้าอี้จะถูกแต่งเติมสีสันในปี 1982 อีกทั้งอัฒจันทร์ฝั่ง แอนฟิลด์ โร้ด เพิ่งถูกต่อเติมให้เป็น 2 ชั้นในปี 1998

ประวัติสนามแอนฟิลด์ การขยายแอนฟิลด์โร้ด

สนามแอนฟิลด์

กำลังดำเนินการต่อไปอย่างเป็นรูปเป็นร่าง ดูความคืบหน้าโครงการอย่างละเอียดผ่านการก่อสร้างล่าสุดของเรา งานฐานแรกเสร็จสมบูรณ์แล้ว และภาพเบื้องหลังฉากใหม่จะเห็นผ่านผนังคอนกรีตแกนหลัง และบันไดคอนกรีตชั้นแรก ซึ่งจะทำให้อาคารมีความมั่นคง

แผ่นผนังคอนกรีตสองแผ่นแรกวางอยู่แกนกลางด้านตะวันออก พร้อมกับบันไดสำเร็จรูปชั้นแรก แถบสตาร์ทเตอร์แกนหลักยังคงติดไว้เพื่อเป็นกรอบแกนกลางของอาคารอีกด้วย 

การทำงานเรื่องการขยายอัฒจันทร์ ที่เพิ่งจะเพิ่มความจุให้กับสเตเดียมโดยรวมประมาณ 7,000 ที่นั่ง เริ่มต้นตั้งแต่เดือนกันยายน ค.ศ. 2021 ที่ผ่านมา และคาดว่าจะพร้อมใช้งานสำหรับฤดูกาล 2023-2024

error: Content is protected !!